การพัฒนาภาษาอังกฤษ สำหรับน้องๆที่ อ่อนภาษามากๆ  ตอนที่ 1

PE050_Global English Website_Banner_V4

ก่อนอื่นขอออกตัวไว้ก่อนนะครับว่าพี่กัสไม่ใช่ครูสอนภาษาอังกฤษแบบจริงๆจังๆ แต่วิธีการนี้เป็นวิธีการที่พี่กัสใช้ตอนที่ภาษาอ่อนมากๆ และก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ หลังจากที่ลองผิดลองถูก (เสียเงิน และเวลามากมายกับการเรียนภาษาทั้งในไทย และออส) สุดท้ายก็มาได้วิธีนี้ครับลองดูนะครับว่ามันจะใช้ได้กับน้องๆรึเปล่า ที่แน่ๆต้องอดทนนะครับมันไม่มีคาถาวิเศษอะไรที่จะทำให้เราได้ภาษาโดยไม่พยายาม และไม่ต้องบังคับตัวเอง (ยกเว้นแต่น้องเป็นฝรั่ง)

สิ่งที่พี่เป็น : ความจำไม่ดี, ไม่ชอบท่องศัพท์, มีความอดทนสูง, บังคับตัวเองเก่ง, ชอบหาเหตุผล

หลักการ : ในการพัฒนาภาษาอังกฤษนั้นมีหลายๆด้านด้วยกัน เช่น การออกเสียง (Pronunciation), สำเนียง (Accent), รูปแบบประโยค (Sentence Structure), ความต่อเนื่อง และเป็นธรรมชาติ (Fluency) เป็นต้น น้องๆ ต้องโฟกัสให้ถูกจุดในแต่ละช่วงระดับความสามารถของเรา และใช้สมาธิอยู่ที่ตรงนั้น

สำหรับน้องๆที่ภาษายังอ่อนอยู่พี่กัสแนะนำว่าสองสิ่งที่น้องต้องให้ความสนใจก่อนคือ

  1. การจำแนกชนิดของคำ อย่างน้อยที่สุดน้องควรจะรู้ว่าในประโยคหนึ่งๆ อะไรเป็น กริยา และอะไรเป็นประธาน
  2. โฟกัสที่ รูปแบบประโยคง่ายๆ สั้นๆ เช่น พวก Present, Past, และ Future simple tense (พี่เรียกว่า Tense หลัก)

วิธีการการฝึก

  1. ทำความเข้าใจกับรูปแบบประโยคและวิธีการใช้ ของ Tense หลัก
  2. หาหนังสืออ่านนอกเวลาของเด็ก (ส่วนใหญ่จะใช้ชื่อว่า Retold Story) ซึ่งจะเป็นการเขียนเล่าเรื่องราวโดยใช้ภาษาอักฤษแบบง่ายๆ และจะมี ระดับความยากบอกอยู่ ให้เลื่อกให้เหมาะกับเรา อย่ายากไปจะทำได้ไม่นาน อย่าง่ายไปเพราะว่าจะไม่ได้อะไรมาก
  3. อ่าน 3 ครั้ง
    1. ครั้งแรก อย่างจับใจความแบบไม่ต้องเปิด พจนานุกรม เลย ดูว่าเราเข้าใจเนื้อเรื่องมากแค่ไหน
    2. ครั้งที่ 2 อ่านวงคำกริยา (Verb) เพื่อบังคับให้สมองเราจดจำรูปประโยค และรูปแบบ Tense ต่างๆ รวมทั้งเปิดพจนานุกรม โดยข้อควรระวังคือ
      1. อย่าเปิดทุกคำเปิดเฉพาะคำที่เราคิดว่าสำคัญ หรืออย่างรู้
      2. ไม่ต้องทำเป็น List คำศัพท์ เพราะว่าจะทำให้เบื่อ และเลิกทำในที่สุด (ถ้ามันจะลืมก็ปล่อยให้ลืมไป เจออีกก็เปิดอีก เดี้ยวมันก็จำได้)
    3. ครั้งที่ 3 อ่านออกเสียง ให้โฟกัสที่จังหวะหยุด พยายามอ่านให้จบประโยคแล้วถึงหยุด ถ้าระหว่างกลางมีคำศัพท์ที่ไม่รู้ว่าออกเสียงยังไงก็เดาเอาก่อน ถ้าอยากรู้จริงๆก็เปิดพจนานุกรมเช็คอีกที

ข้อควรระวัง : เน้นที่ความต่อเนื่อง (Fluency) และ การออกเสียง (Pronunciation) ไม่ใช่ สำเนียง (Accent)

หวังว่าน้องๆคงได้ประโยชน์จาก Content อันนี้บ้างนะครับ

แหล่งข้อมูล 

 

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.